บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สติปัฏฐานของอาจารย์แนบ

ในหัวข้อ “ธรรมที่เป็นอุปการะแก่อารมณ์ของวิปัสสนามีอะไรบ้าง” ของอาจารย์แนบนั้น มีส่วนหนึ่งที่เขียนถึงความหมายของสติปัฏฐานไว้ ดังนี้

สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก  สติปัฏฐานมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วน ตัวเห็น เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่ เห็น รูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง

องค์ธรรมของสติปัฏฐาน โดยฐานะผู้เพ่งอารมณ์ที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัสให้พินาศนั้น ประกอบด้วย อาตาปี สัมปชาโน สติมา ….

อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ 6 ลงแล้ว ก็ได้แก่ รูป กับ นาม

ข้อความดังกล่าวนี้ไม่มีการอ้างอิงพระไตรปิฎกแต่อย่างไร มัวอย่างเดียว และผิดจนคาดไม่ถึงว่า พวกนี้เชื่อกันไปได้อย่างไร

ดูความหมายของสติปัฏฐานจากแหล่งอื่นบ้าง

http://th.wikipedia.org/wikiสติปัฏฐาน_4

สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

คำว่า สติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ

โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง

ส่วน ปัฏฐาน แปลได้หลายอย่างแต่ในมหาสติปัฏฐานสูตรและสติปัฏฐานสูตรหมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น

โดยรวม คือ เข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สติปัฏฐาน 4 (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง - foundations of mindfulness)

ขอให้เปรียบเทียบดูการให้ความหมายของอาจารย์แนบกับท่านอื่นดู การให้ความหมายของอาจารย์แนบนั้น ไม่เคยอิงหลักการใดๆ  กูนึกอย่างไร กูก็ว่าไปอย่างนั้น

เรามาวิเคราะห์เจาะลึกอีกหน่อย ในข้อความนี้

สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก  สติปัฏฐานมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วน ตัวเห็น เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่ เห็น รูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง

ผมอ่านแล้ว พยายามที่จะช่วยแล้ว ด้วยการคิดหลายตระลบ บอกตรงๆ ผมก็ยังไม่เข้าใจ เพราะ มันมั่วไปหมด  หาหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย

“สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก  สติปัฏฐานมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์” ไม่รู้อาจารย์แนบเอามาจากไหน และหมายความว่าอย่างไร

“ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง” ตรงนี้ก็มั่วแบบไม่รู้จะมั่วอย่างไร  สติปัฏฐานเป็นพระสูตรที่เราจะต้องเรียน ก็มี กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วจะกลายเป็น 2 สิ่งที่มีหน้าที่ 2 อย่างได้อย่างไร

อธิบายในแง่ภาษาก็คือ เป็นทั้งประธานด้วย และเป็นกรรมด้วย 

“ส่วน ตัวเห็น เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่ เห็น รูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง” ข้อความนี้พอจะเข้าใจได้ คือ กระบวนการเห็นนั้น ถือได้ว่าเป็นวิปัสสนา แต่พอไปเขียนว่า “ปัญญาที่เห็น” มันก็ไม่ได้เรื่องเหมือนเดิม 

การเห็น ตัวเราก็ต้องไปผู้ทำกิริยา “เห็น” จะไปยังให้ “ปัญญาเห็น” ให้มันมั่วไปทำไม  แต่ประการสำคัญก็คือ  อาจารย์แนบไม่เคยเห็นสิ่งใด  แล้วมาใช้ศัพท์ว่า “เห็น” อยู่ทำไม

สุดท้ายเลยก็คือ ข้อความนี้ “อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ 6 ลงแล้ว ก็ได้แก่ รูป กับ นาม

อย่างนี้ มันบ้ารูป บ้านามจนเกินไปแล้ว  เฉพาะ ขันธ์ 5 นั้น ใช่แน่ๆ คือ รูปกับนาม  อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 คิดอย่างเข้าข้างกัน ก็เอาวะ พอได้ พอตีความเป็นรูปกับนามได้

แต่ อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 เป็นรูปกับนามนี่มันบ้าเกินไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น ยังมีข้อความว่า “เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี” แล้วปฏิจจสมุปบาททั้งหมดจะเป็นนามรูปได้อย่างไร

ตีความแบบนี้ โง่สิ้นดี

จะเห็นได้ว่า สติปัฏฐานของพระพม่า สาวกพระพม่า และของอาจารย์แนบ ไม่ใช่สติปัฏฐานในศาสนาพุทธเถรวาทอย่างแน่นอน

เป็นสติปัฏฐานตามใจกู ของกู อย่างชัดเจน 


มาถึงตอนนี้ ผมว่าอาจารย์แนบได้ขึ้นสวรรค์ชั้น 1 ก็สูงเกินไปเสียแล้ว  ควรที่มาเป็นเทวดาตามต้นไม้น่าจะถูกต้องกว่า 



ธรรมที่อุปการะวิปัสสนา

วันนี้มาต่อกันด้วยหัวข้อ “ธรรมที่เป็นอุปการะแก่อารมณ์ของวิปัสสนามีอะไรบ้าง” ของอาจารย์แนบกัน  อาจารย์แนบได้เขียนไว้ดังนี้

การเจริญวิปัสสนาต้องปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาโดยตรง และมีธรรมที่เข้าร่วมประกอบกับวิปัสสนาอีก เช่น วิปัสสนาภูมิ 6 ญาณ 16 หรือวิปัสสนาญาณ 9 และวิสุทธิ 7 เป็นต้น

ข้อความสั้นๆ นี้ก็อีกเช่นเดียวกัน คือ แสดงถึงความมั่ว งี่เง่า มึนของพระพม่า รวมถึงสาวกของพม่าในเมืองไทย  มึนด้วยความโง่ของพวกเขานั่นแหละ

จากข้อความนี้ “การเจริญวิปัสสนาต้องปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4”  เมื่อพิจารณากันอย่างผิวเผิน และอย่างเอาใจช่วย คือ เราคิดว่า พระพม่าคงไม่รู้จักวิปัสสนาภูมิ คือ ขันธ์ 5  อายตนะ 12  ธาตุ 18  อินทรีย์ 22  อริยสัจ 4  และปฏิจจสมุปบาท 12  จึงเข้าใจว่า วิปัสสนาคือ สติปัฏฐาน 4 

ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือ การเข้าใจผิดของพระพม่า น่าให้อภัยกันได้

แต่ปรากฏว่า พระพม่ารู้จักวิปัสสนาภูมิ แต่ดันเสือกไปบอกว่า วิปัสสนาภูมิเป็น “ธรรมที่เข้าร่วมประกอบกับวิปัสสนา”  อันนี้ มันบ้าแล้ว มันบิดเบือนแล้ว

พระพม่านั้น ไม่รู้ว่าโง่หรือเกิดจากอะไร สอนผิดแล้วผิดอีก ผิดแล้วผิดอีก ผิดซ้ำผิดซาก ที่เลวหนักหนาสาหัสก็คือ  เสือกมาโจมตีคนสอนถูกเสียอีก

เท่าที่ติดตามมา ถึง ณ ปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าพระพม่ากลุ่มพวกนี้ น่าจะเป็นสาวกของมาร มากกว่าที่จะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ความเป็นมาของการสอนของพระพม่านั้น แต่ละกลุ่มก็พิลึกกึกกือ แปลกประหลาดมหัศจรรย์ งี่เง่าอย่างไม่น่าเชื่อ  แต่ยังไม่ใช่ประเด็นในบทความนี้

กลับเข้ามาในประเด็น 

การปฏิบัติธรรมแบบพระพม่าก็คือ เดินไปเดินมา เพื่อให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน แล้วก็เอาจิตติดอยู่กับความรู้สึกของร่างกายที่เคลื่อนไหวอยู่  โดยคิดให้ร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 

นั่นแหละ การปฏิบัติธรรมของพระพม่ามีอยู่แค่นั้น 

เมื่อได้การปฏิบัติธรรมแบบนั้นมาแล้ว  คราวนี้ ก็จะหาพระสูตรใส่ให้กับวิธีการปฏิบัติธรรมของตน เมื่ออ่านไปอ่านมา พระพม่าเห็นข้อความท้ายๆ ของสติปัฏฐานสูตรที่ว่า

[๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน .....

ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ประการ ฉะนี้แล

ก็จับยัดไปเลยว่า การปฏิบัติธรรมแบบที่ตนเองคิดได้นั้น เป็นสติปัฏฐานสูตร ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่

สมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานเป็นพื้นฐานให้กับโพธิปักขยธรรม  สติปัฏฐานสูตรอยู่ในโพธิปักขยธรรม ซึ่งสูงกว่าวิปัสสนากรรมฐาน


ขอสรุปประเด็นบทความนี้อีกครั้งหนึ่ง

1) พระพม่าคิดวิธีปฏิบัติธรรมมาได้แบบหนึ่ง เป็นแบบที่เข้าได้กับวิทยาศาสตร์ พระพม่านั้น รู้สึกรังเกียจสมถะกรรมฐาน แต่ชอบวิปัสสนากรรมฐาน  จึงอ้างในเบื้องต้นว่า การปฏิบัติธรรมที่ตนคิดได้นั้น เป็น “วิปัสสนา

2) จากการที่พระพม่าเชื่อวิทยาศาสตร์ จึงยอมรับไปตามวิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่เป็นจริงต้องสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5   “การเห็น” ใดๆ ที่อยู่ในพระไตรปิฎก พระพม่าจึงไม่ยอมรับ

ในเมื่อไม่ยอมรับการเห็น พระพม่าจึงหน้ามืดโจมตีการเห็นทั้งหมด  รวมถึงการเห็นในวิชาสูงๆ เช่น วิชชา 3 ด้วย

3) วิปัสสนาแปลว่า เห็นแจ้ง  พระพม่าจึงทำมึน แปลเป็นอย่างอื่นไปหมด แต่ไม่กล้าตัดคำว่า “เห็น” ออกไป

4) พระพม่าต้องการโฆษณาชวนเชื่อ เห็นว่าสติปัฏฐาน 4 สามารถบรรลุได้ภายใน 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จึงอ้างว่าการปฏิบัติธรรมของตนนั้น เป็นสติปัฏฐาน แล้วก็ไปลดฐานสติปัฏฐาน 4 ให้เป็นวิปัสสนา โดยไม่ยอมกล่าวถึงวิปัสสนาภูมิ

5) เนื่องจากการปฏิบัติธรรมแบบพระพม่าในไม่เป็นสติปัฏฐาน 4  พระพม่าจึงไม่สามารถอธิบายได้อย่างครบถ้วนว่า กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม นั้นเป็นอย่างไร

การปฏิบัติธรรมที่พระพม่าคิดมาได้นั้น  ก็ทำได้แค่นั้นเอง ไม่สามารถพัฒนาไปทำอย่างอื่นได้ พระพม่าจึงโกหกว่า “ทำแค่นั้นก็พอแล้ว” ก็เหมือนทำหัวใจอื่นๆ ไปด้วยแล้ว

ซึ่งเป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาด  โพธิปักขธรรม 7 ข้อใหญ่ 37 ข้อย่อยนั้น อย่างน้อยในหัวข้อใหญ่เราต้องปฏิบัติได้  คือ ไม่ต้องครบ 37 หัวข้อ แต่อย่างน้อยก็ต้อง 7 หัวข้อ ไม่ใช่แค่เดินไปเดินมาอย่างพระพม่า แล้วจะครบทั้งหมด


ยิ่งเขียนยิ่งพบความโง่ของพระพม่ากับสาวก.



อารมณ์ของวิปัสสนา

วันนี้มาต่อกันด้วยหัวข้อ “อารมณ์ของวิปัสสนาได้แก่อะไร” ของอาจารย์แนบกัน  อาจารย์แนบได้เขียนไว้ดังนี้

เมื่อวิปัสสนาคือ ปัญญาที่เห็นนามรูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาก็ได้แก่ นามรูป นั่นเอง

การเจริญวิปัสสนาจะต้องกำหนดนามรูป ที่เป็นปัจจุบัน จึงจะเห็นนามรูปเป็นไตรลักษณ์ได้ ถ้ากำหนดดูอย่างอื่นแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลเลย ที่จะเห็นสภาวะของนามรูปเป็นไตรลักษณ์ได้

ข้อความสั้นๆ นี้ก็อีกเช่นเดียวกัน คือ แสดงความฉิบหายวายป่วงของสาวกพระพม่าอย่างชัดเจนและหนักหนาสาหัส  ตรงหนักหนาสาหัสคือ ตอนที่ร่วงไปในอบายภูมิ

จากบทความที่แล้ว ผมได้ชี้แจงไปแล้วว่า “วิปัสสนาคือ ปัญญาที่เห็นนามรูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” นั้น ผิดอย่างที่ไม่รู้จะบรรยายอย่างไร 

พอมาถึงเรื่องนี้ อาจารย์แนบก็สอนผิดแบบยกกำลังไม่รู้เท่าไหร่ขึ้นไปอีก คือ จากต้องเห็นจริงใน ขันธ์ 5  อายตนะ 12  ธาตุ 18  อินทรีย์ 22  อริยสัจ 4  และปฏิจจสมุปบาท 12  อาจารย์แนบแปลงสารมาเป็นแค่ “เห็นนามรูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” แบบตาบอดเท่านั้น

พวกสาวกพระพม่านั้น ถ้าจะว่าคล้ายพวกสร้างภาพก็คล้าย คล้ายพวกหลอกลวงก็คล้าย ที่ไม่คล้ายก็คือ พวกหลอกลวงชาวบ้านนั้น มันฉลาดในทางที่ผิด ที่แต่สาวกพระพม่านั้น โง่ในทางที่ผิด

สาวกพระพม่าจะอ้างวิทยาศาสตร์ จะอ้างเหตุผล แต่ไม่เคยเข้าข่ายของวิทยาศาสตร์ และก็ไม่เคยเข้าข่ายของเหตุผลทั้งสิ้น

ข้อความที่ว่านี้ “ถ้ากำหนดดูอย่างอื่นแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลเลย ที่จะเห็นสภาวะของนามรูปเป็นไตรลักษณ์ได้”  เหมือนจะดูว่ามีเหตุผล แต่จริงๆ แล้วไม่มีเหตุผลใดๆ

เอาเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้ บอกง่ายเลยว่า พระพุทธเจ้าสอนว่า ในภพ 3 นี้ อะไรทั้งสิ้นทั้งปวง ตกอยู่ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น 

พูดเอาง่ายเลย “สิ่ง” ในศาสนาพุทธนั้น ยกเว้นนิพพานแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็ตกอยู่ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งสิ้น  ไม่ใช่เฉพาะนามรูป แต่นามรูปมันเป็นตัวของเรา มันดูง่าย

ยกตัวอย่างให้มันหนักหนาสาหัสไปเลยก็คือ ภูเขาเอเวอเรสต์ ภูเขาเอเวอเรสต์มันไม่ได้เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา แต่มันเปลี่ยนแปลงคือ สูงขึ้นทุกปี แต่สูงขึ้นไม่กี่เซนติเมตร

ยกตัวอย่างให้โคตรหนักหนาสาหัสแต่ใหญ่บ้าง ก็คือ จักรวาลของเรานี่แหละ จักรวาลของเรานี่ ขยายตัวออกไปทุกขณะด้วยความเร็วใกล้ๆ ความเร็วแสง มันไม่อยู่คงที่

ยกตัวอย่างที่มันดูเหมือนเป็นไปไม่ได้บ้าง คือ เหล็ก  เหล็กนั้น เห็นมันวางอยู่นิ่งๆ นั้น มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในอะตอมของมัน  ในอะตอมนั้น อิเล็กตรอนมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็คิดง่ายว่า สนิมแดกมันอยู่ตลอดเวลาก็ได้ แต่มันยังไม่ออกอาการ  เมื่อเราเห็นสนิมเมื่อไหร่ เราถึงรู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงแล้ว

ตัวอย่างที่ผมยกไปนั้น สามารถเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ทั้งสิ้น

ทำไมพระพม่าถึงมาเน้นแค่ปัจจุบันของนามรูป

พระพม่านั้น เชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าศาสนาพุทธ หมายถึงพระนักวิชาการของพม่า  พระพม่าบ้านนอกอาจจะคล้ายพระไทยก็ได้

เมื่อเชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า ก็พยายามทำศาสนาให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ พระนักวิชาการไทยก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน แต่พระนักวิชาการไทย ไปไกลกว่าคือ ไม่ยอมปฏิบัติธรรมเลย

เมื่อพระพม่าไม่เชื่อนรก สวรรค์ แต่เลือกเชื่อตามวิทยาศาสตร์ว่า มนุษย์เกิดมาเพียงชาติเดียวตามปัจจัยในทางวิทยาศาสตร์ พระพม่าจึงต้องลงไปเน้นที่ปัจจุบันชาติ

ขอให้ท่านผู้อ่านลองสังเกตดู พระพม่าจะไม่เอ่ยถึงเรื่องบารมี 30 ทัศเลย พระพม่าจะไปเอ่ยถึงวิชชา 3 เลย

หลักฐานที่ชัดเจนก็คือ คำชี้แจงหนังสืออาจารย์แนบ ดังนี้ ก็เริ่มโจมตีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิปัสสนาตามแบบคนอื่นๆ ว่า

โดยมากเข้าใจผิดไปว่า ..... และเข้าใจว่า จะเกิดปัญญาญาณรู้เห็นที่วิเศษกว่าความรู้เห็นของคนปกติธรรมดา เช่น รู้เห็นความเป็นไปต่างๆ ในโลกนี้ รู้เห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตล่วงหน้าได้ เห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นคนที่ตายไป ได้เกิดในภูมิชั้นนั้นชั้นนี้ เป็นต้น

ข้อความสีแดงที่ว่า “เห็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตล่วงหน้าได้” นั้น เป็นการเห็นของวิชชา 3 

เมื่อไปเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ดังนั้น การปฏิบัติธรรมของพระพม่าก็จะต้องเอาให้สิ้นสุดกันในชาตินี้  ดังนั้น สติปัฏฐานสูตรจึงเป็นหลักพึ่งพิงหลักเดียว เพราะ สามารถปรับให้เข้ากับวิทยาศาสตร์ได้

พระพม่าเอานามรูปมาจากไหน

พระพม่าไปเอานามรูปมาจากอนัตตลักขณสูตร ผมได้เขียนถึงไว้แล้วในบทความ “อนัตตลักขณสูตร”  ตรงนี้ขออธิบายสั้นๆ ดังนี้

ในอนัตตลักขณสูตรนั้น พระพุทธเจ้าสอนว่า รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณเป็นอนัตตา เมื่อเป็นอนัตตาก็ไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงก็เป็นทุกข์ โดยสรุปก็คือ รูป-นามเป็นอนัตตา อนิจจัง ทุกขัง

แต่ที่พระพม่าเอามาแต่ “ศัพท์” แต่ไม่เอา “ความหมาย” มาด้วยก็คือ การเห็น

ขอยกเนื้อหาของอนัตตลักขณสูตรตรงส่วนของ “ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ” แบบย่อๆ ดังนั้น

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูป [เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ] อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่า รูป [เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ]

เธอทั้งหลายพึง เห็น รูป [เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ] นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

ในอนัตตลักขณสูตรนั้นต้อง เห็น  คำว่า “ยถาภูตญาณทัสสนะ” ก็แปลว่า รู้เห็นตามความเป็นจริง ยถาภูต ( ตามความเป็นจริง ) + ญาณ ( ความรู้ ) + ทสฺสน ( การเห็น )

พระพม่าเอาศัพท์ “เห็น” มาด้วย  แต่มาปู้ยี่ปู้ยำแบบตาบอด ไม่ยอมเห็นกัน  แล้วสาวกคนไทยก็โง่กันทั้งหมด เสือกเชื่อกันเสียได้


ที่จังไรกว่านั้นก็คือ มาโจมตีคนสอนถูกเข้าไปอีก