บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

สติปัฏฐานของอาจารย์แนบ

ในหัวข้อ “ธรรมที่เป็นอุปการะแก่อารมณ์ของวิปัสสนามีอะไรบ้าง” ของอาจารย์แนบนั้น มีส่วนหนึ่งที่เขียนถึงความหมายของสติปัฏฐานไว้ ดังนี้

สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก  สติปัฏฐานมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วน ตัวเห็น เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่ เห็น รูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง

องค์ธรรมของสติปัฏฐาน โดยฐานะผู้เพ่งอารมณ์ที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัสให้พินาศนั้น ประกอบด้วย อาตาปี สัมปชาโน สติมา ….

อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ 6 ลงแล้ว ก็ได้แก่ รูป กับ นาม

ข้อความดังกล่าวนี้ไม่มีการอ้างอิงพระไตรปิฎกแต่อย่างไร มัวอย่างเดียว และผิดจนคาดไม่ถึงว่า พวกนี้เชื่อกันไปได้อย่างไร

ดูความหมายของสติปัฏฐานจากแหล่งอื่นบ้าง

http://th.wikipedia.org/wikiสติปัฏฐาน_4

สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

คำว่า สติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ

โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง

ส่วน ปัฏฐาน แปลได้หลายอย่างแต่ในมหาสติปัฏฐานสูตรและสติปัฏฐานสูตรหมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น

โดยรวม คือ เข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

สติปัฏฐาน 4 (ที่ตั้งของสติ, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมันเอง - foundations of mindfulness)

ขอให้เปรียบเทียบดูการให้ความหมายของอาจารย์แนบกับท่านอื่นดู การให้ความหมายของอาจารย์แนบนั้น ไม่เคยอิงหลักการใดๆ  กูนึกอย่างไร กูก็ว่าไปอย่างนั้น

เรามาวิเคราะห์เจาะลึกอีกหน่อย ในข้อความนี้

สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก  สติปัฏฐานมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วน ตัวเห็น เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่ เห็น รูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง

ผมอ่านแล้ว พยายามที่จะช่วยแล้ว ด้วยการคิดหลายตระลบ บอกตรงๆ ผมก็ยังไม่เข้าใจ เพราะ มันมั่วไปหมด  หาหลักเกณฑ์อะไรไม่ได้เลย

“สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก  สติปัฏฐานมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์” ไม่รู้อาจารย์แนบเอามาจากไหน และหมายความว่าอย่างไร

“ฉะนั้น สติปัฏฐานจึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง” ตรงนี้ก็มั่วแบบไม่รู้จะมั่วอย่างไร  สติปัฏฐานเป็นพระสูตรที่เราจะต้องเรียน ก็มี กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วจะกลายเป็น 2 สิ่งที่มีหน้าที่ 2 อย่างได้อย่างไร

อธิบายในแง่ภาษาก็คือ เป็นทั้งประธานด้วย และเป็นกรรมด้วย 

“ส่วน ตัวเห็น เป็นวิปัสสนา คือ ปัญญาที่ เห็น รูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นั่นเอง” ข้อความนี้พอจะเข้าใจได้ คือ กระบวนการเห็นนั้น ถือได้ว่าเป็นวิปัสสนา แต่พอไปเขียนว่า “ปัญญาที่เห็น” มันก็ไม่ได้เรื่องเหมือนเดิม 

การเห็น ตัวเราก็ต้องไปผู้ทำกิริยา “เห็น” จะไปยังให้ “ปัญญาเห็น” ให้มันมั่วไปทำไม  แต่ประการสำคัญก็คือ  อาจารย์แนบไม่เคยเห็นสิ่งใด  แล้วมาใช้ศัพท์ว่า “เห็น” อยู่ทำไม

สุดท้ายเลยก็คือ ข้อความนี้ “อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ 6 คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ 6 ลงแล้ว ก็ได้แก่ รูป กับ นาม

อย่างนี้ มันบ้ารูป บ้านามจนเกินไปแล้ว  เฉพาะ ขันธ์ 5 นั้น ใช่แน่ๆ คือ รูปกับนาม  อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 คิดอย่างเข้าข้างกัน ก็เอาวะ พอได้ พอตีความเป็นรูปกับนามได้

แต่ อริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12 เป็นรูปกับนามนี่มันบ้าเกินไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น ยังมีข้อความว่า “เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี” แล้วปฏิจจสมุปบาททั้งหมดจะเป็นนามรูปได้อย่างไร

ตีความแบบนี้ โง่สิ้นดี

จะเห็นได้ว่า สติปัฏฐานของพระพม่า สาวกพระพม่า และของอาจารย์แนบ ไม่ใช่สติปัฏฐานในศาสนาพุทธเถรวาทอย่างแน่นอน

เป็นสติปัฏฐานตามใจกู ของกู อย่างชัดเจน 


มาถึงตอนนี้ ผมว่าอาจารย์แนบได้ขึ้นสวรรค์ชั้น 1 ก็สูงเกินไปเสียแล้ว  ควรที่มาเป็นเทวดาตามต้นไม้น่าจะถูกต้องกว่า 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น